การบวชนาคและแห่นาค

การจัดกระบวนแห่ ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ คือ

-หัวโต หรือห้วสิงโต (มีหรือไม่ก็ได้)

-แตร หรือ เถิดเทิง (มีหรือไม่ก็ได้)

-ของถวายพระอุปัชฌาย์ คู่สวด

-ไตรครอง ซึ่งมักจะอุ้มโดยมารดาหรือบุพการีของผู้บวช (มีสัปทนกั้น)

-ดอกบัว ๓ ดอก ธูป ๓ ดอก เทียน ๒ เล่ม ให้ผู้บวชพนมมือถือไว้ (มีสัปทนกั้น)

-บาตร และตาลปัตร จะถือและสะพายโดยบิดาของผู้บวช

-ของถวายพระอันดับ

-บริขารและเครื่องใช้อย่างอื่นของผู้บวช

เมื่อจัดขบวนเรียบร้อยแล้วก็เคลื่อนขบวนเข้าสู่พระอุโบสถ เวียนขวารอบนอกขันธสีมา จนครบ ๓ รอบ ก่อนจะเข้าโบสถ์ก็ต้องวันทาเสมาหน้าพระอุโบสถเสียก่อนว่า วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขัง เจติยัง สัพพะ เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต


เมื่อเสร็จแล้วก็โปรยทานก่อนเข้าสู่พระอุโบสถโดยให้บิดามารดาจูงติดกันไป อาจจะอุ้มข้ามธรณีประตูไปเลยก็ได้ เสร็จแล้วผู้บวชก็ไปกราบพระประธานด้านข้างพระหัตถ์ขวาขององค์พระ รับไตรครองจากมารดาบิดา จากนั้นจึงเริ่มพิธีการบวช


ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรหรือพระได้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

๑.เป็นสุภาพชนที่มีความประพฤติดีประพฤติชอบ ไม่มีความประพฤติเสียหาย เช่นติดสุราหรือยาเสพติดให้โทษเป็นต้น และไม่เป็นคนจรจัด

๒.มีความรู้อ่านและเขียนหนังสือไทยได้

๓.ไม่เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ

๔.ไม่เป็นคนล้มละลาย หรือมีหนี้สินผูกพัน

๕.เป็นผู้ปราศจากบรรพชาโทษ และมีร่างกายสมบูรณ์ อาจบำเพ็ญสมณกิจได้ ไม่เป็นคนชราไร้ความสามารถหรือทุพพลภาพ หรือพิกลพิการ

๖.มีสมณบริขารครบถ้วนและถูกต้องตามพระวินัย

๗.เป็นผู้สามารถกล่าวคำขอบรรพชาอุปสมบทได้ด้วยตนเอง และถูกต้องไม่วิบัติ


ต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้จะบวชได้แก่

๑.เป็นคนทำความผิด หลบหนีอาญาแผ่นดิน

๒.เป็นคนหลบหนีราชการ

๓.เป็นคนต้องหาในคดีอาญา

๔.เป็นคนเคยถูกตัดสินจำคุกฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ

๕.เป็นคนถูกห้ามอุปสมบทเด็ดขาดทางพระศาสนา

๖.เป็นคนมีโรคติดต่ออันน่ารังเกียจ เช่นวัณโรคในระยะอันตราย

๗.เป็นคนมีอวัยวะพิการจนไม่สามารถปฏิบัติกิจพระศาสนาได้

สิ่งต่างๆ ข้างต้นจะมีเขียนถามไว้ในใบสมัครขอบวชซึ่งต้องไปเขียนที่วัดนั้นๆ


บทกิจวัตรเมื่อเป็นพระ

๑.ลงอุโบสถ (ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น)

๒.บิณฑบาตรเลี้ยงชีพ

๓.สวดมนต์ไหว้พระ

๔.กวาดอาวาสวิหารลานพระเจดีย์

๕.รักษาผ้าครอง

๖.อยู่ปริวาสกรรม

๗.โกนผม ปลงหนวด ตัดเล็บ

๘.ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติพระอาจารย์

๙.เทศนาบัติ

๑๐.พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง ๔ เป็นต้น (ให้รู้จักข่มใจ เว้นแต่ความจำเป็น ๔ อย่างคือ จีวร บิณฑบาตร เสนาสนะ และเภสัช)


วิธีแสดงอาบัติ

เมื่อใดที่รู้ว่าต้องอาบัติในข้อใดข้อหนึ่ง ต้องแสดงอาบัติกับพระรูปใดรูปหนึ่งเพื่อเป็นพยานดังนี้

(พระที่พรรษาอ่อนกว่า)

สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ ครั้ง)

สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรจามิ (ว่า ๓ ครั้ง)

อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย

อาปัตติโย อาปัชชิง ตา ตุมหะ มูเล ปะฏิเทเสมิ

(พระที่พรรษาแก่กว่ารับว่า)

ปัสสะสิ อาวุโส ตา อาปัตติโย

(พระที่พรรษาอ่อนกว่า)

อุกาสะ อามะ ภันเต ปัสสามิ

(พระที่พรรษาแก่กว่ารับว่า)

อายะติง อาวุโส สังวะเรยยาสิ

(พระที่พรรษาอ่อนกว่า)

สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ

ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ

ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ

นะ ปุเนวัง กะริสสาม

นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ

นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ

(พระที่พรรษาแก่กว่าว่า)

สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (กล่าว ๓ ครั้ง)

สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (กล่าว ๓ ครั้ง)

อะหัง อาวุโส สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย

อาปัตติโย อาปัชชิง ตา ตุยหะ มูเล ปะฏิเทเสมิ

(พระที่พรรษาอ่อนกว่ารับว่า)

อุกาสะ ปัสสะถะ ภันเต ตา อาปัตติโย

(พระที่พรรษาแก่กว่าว่า)

อามะ อาวุโส ปัสสามิ

(พระที่พรรษาอ่อนกว่ารับว่า)

อายะติง ภันเต สังวะเรยยาถะ

(พระที่พรรษาแก่กว่าว่า)

สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ

ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ

ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ

นะ ปุเนวัง กะริสสามิ

นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ

นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ


Blog |
Line it!